จันทร์. ม.ค. 6th, 2025

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) นำสื่อมวลชนอุดรเที่ยวจังหวัดเลย กระตุ้นการท่องเที่ยววิถีชุมชน

วันที่ 28 มีนาคม 2565 เวลา 05.00 น. คณะผู้สื่อข่าวอุดรธานี ออกเดินทางถึงจังหวัดเลย พร้อมกันที่ สำนักงานพื้นที่พิเศษ 5 (อพท.5) ลงทะเบียนรับเอกสารรับฟังคำชี้แจงในการเดินทาง

จากนั้นเดินทางสู่พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ศรีจันทร์ บ้านนาอ้อ รับประทานข้าวแดกงา ขนมพื้นถิ่นโบราณหาทานยาก สูตรเฉพาะชาวนาอ้อเท่านั้น นั่งรถรางชมเมือง ชุมชนเก่า บ้านนาอ้อ ฟังเรื่องเล่าชุมชนเก่าแก่โบราณบ้านนาอ้อ

พร้อมสักการะ ศาลเจ้าปู่คำแดง ชาวตำบลนาอ้อ จะทำพิธีกรรมเลี้ยงบ้านศาลเจ้าปู่คำแดง ตามความเชื่อมาแต่สมัยโบราณ เพื่อให้ท่านปกปักรักษาคุ้มครอง ป้องกันภัยต่างๆให้ผ่านพ้นไปด้วยดี โดยมีเครื่องบนบานสารกล่าว เป็นเครื่องม้ามักเขียว(เหล้าขาว) น้ำส้ม เสื้อผ้า ดอกไม้แดง (เงินใบร้อย) ศาลเจ้าปู่คำแดงเป็นปูชนียสถานที่มีความศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวนาอ้อ เดิมเป็นศาลเพียงตาชาวบ้านผู้มีความทุกข์ทางใจได้มากราบไหว้ขอพรบนบานสารกล่าว

เมื่อปี พ.ศ.2554 ได้เริ่มทะนุบำรุงบูรณะ
ศาลเจ้าปู่คำแดงจากกำลังทรัพย์ กำลังศรัทธาของชาวบ้าน ชาวตำบลนาอ้อมีความเชื่อศรัทธาในเจ้าปู่คำแดงเป็นอย่างมาก ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะบนบานสารกล่าว เรื่องการสอบ การทำงาน ข้าวของหาย และการดำเนินชีวิตและเรื่องอื่นๆ เมื่อได้ตามที่บนบานก็จะมีการมาแก้บะ (แก้บน) ตามความเชื่อที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ

จากนั้น เวลา 10.00 น. เดินทางสู่ ชุมชนท่องเที่ยวหมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำ บ้านนาป่าหนาด อำเภอเชียงคาน ที่ชุมชนแห่งนี้เราจะได้ชมการแสดงฟ้อนแคนการรำแซปาง สำหรับต้อนรับนักท่องเที่ยว ก่อนเข้าไปในชุมชนนักท่องเที่ยวต้องติดหัวใจไทดำ

เพื่อนำหัวใจของทุกท่านเชื่อมโยงวิถีชีวิตพี่น้องชาวไทดำ ซึ่งมีเพียงแห่งเดียวในภาคอีสาน ฟังเรื่องเล่าของชาวไทดำและเส้นทางการอพยพจากบ้านเกิดเมืองนอนเพื่อหนีภัยสงคราม ณ เมืองแถน หรือเมืองเดียนเบียนฟู ของประเทศเวียดนามในปัจจุบัน

เวลา 12.00 น. คณะสื่อมวลชนอุดรฯ รับประทานอาหารเที่ยง ณ ชุมชนท่องเที่ยวหมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำ เว้นระยะห่าง หลังจากรับประทานอาหารแล้ว ได้ร่วมทำกิจกรรม Work Shop ฐานกิจกรรมตุ้มนกตุ้มหนูและฐานกิจกรรมการทำหัวใจไทดำ (แบ่งเป็นกลุ่มๆ)

เวลาต่อมาคณะสื่อฯเดินทางไปยัง ซอย 0 (ศูนย์) ร่วมทำกิจกรรม Workshop พวงกุณแจปลาน้ำโขง ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนประมงพื้นบ้านเชียงคาน ที่นี่เราจะได้สัมผัสวิถีชีวิตของชุมชนชาวประมงแบบพื้นบ้านเป็นการทำประมงเชิงอนุรักษ์และวีถีโบราณซึ่งตกทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ (พวงกุญแจ นทท. ทำสามารถนำกลับไปเป็นที่ระลึกได้)

จากนั้น เวบา 17.00 น. คณะสื่อมวลชนได้ล่องเรือยามเย็นชมสองฝั่งโขงแบบเรือหางยาวของชาวประมงสัมผัสอากาศช่วงยามเย็นของเชียงคาน ชมพระอาทิตย์ตกดิน ที่สวยที่สุดในจังหวัดเลย เราจะพาท่านล่องเรือลัดเลาะไปทางฝั่ง สปป.ลาว (แยงสาวลาว) ช่วงเย็นๆของทุกๆวันจะมีชาวบ้านฝั่งเมืองสานะคามยังมาเล่นน้ำอาบน้ำริมฝั่งแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นวิถีชีวิตอีกแบบหนึ่งที่ฝั่งเชียงคานก็เคยมีในสมัยก่อน

แต่เนื่องจากปัจจุบันสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆเริ่มเข้ามามากขึ้น การเดินลงไปอาบน้ำที่ท่าน้ำสำหรับคนบ้านเราในสมัยนี้นั้นถือเป็นเรื่องแปลกเรื่องน่าอายหาดูไม่ได้แล้วในปัจจุบันนี้ คงจะมีแต่กิจกรมการล่องเรือริมโขงแบบประมงพื้นบ้านเชียงคานนี้เท่านั้น ที่จะนำนักท่องเที่ยวไปสัมผัสวีถีชีวิตดั้งเดิมของคนริมแม่น้ำโขงแบบใกล้ชิดถึงเพียงนี้

วชิร คำสืบ : ข่าว

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *