วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 10.00 น. ที่หน้าศาลากลางจังหวัดอุดรธานี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยจังหวัดอุดรธานี เดินทางมารวมตัวกันยืนชูป้ายเขียนข้อความถึงรัฐบาลและยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี โดยมีนายนิยม ตอนเหนือ ผู้แทนเกษตรกรชาวไร่อ้อย กล่าวว่า เรื่องการติดตามขอความช่วยเหลือเงินสนับสนุนค่าตัดอ้อยสดจากรัฐเนื่องด้วยข้าพเจ้าในฐานะตัวแทนเกษตรกรชาวไร่อ้อยในเขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี เมื่อฤดูกาลอ้อย ปี พ.ศ.25566/2567 ที่ผ่านมานั้น เกษตรกรชาวไร่อ้อยอีกหลายราย ได้ดำเนินการโดยไม่ทำการเผาอ้อย เพื่อสนองนโยบายการลดฝุ่น PM. 2.5 ของรัฐบาล ซึ่งในการดำเนินการตัดอ้อยสดโดยไม่ทำการเผานั้น จะมีต้นทุนที่ต้องจ่ายให้แก่แรงานในอัตราที่สูงกว่าปกติ แต่เกษตรกรชาวไร่อ้อยก็ยอมที่จะตัดอัอยสดสนองนโยบายรัฐบาล
เนื่องจากในฤดูการหีบอ้อยที่ผ่านมา 3 ปี รัฐบาลได้มีนโยบายให้เงินช่วยเหลือตัดอ้อยสดเป็นเงิน จำนวน 120 บาท/ตันอ้อย เพื่อเป็นการจูงใจและเพิ่มต้นทุนให้เกษตรกรชาวไร้อ้อย ดำเนินการตัดอ้อยสดส่งแก่โรงงานเพื่อลดฝุ่น PM. 2.5 ทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยต้องแบกรับภาระต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้นจนทำให้ขาดทุนในการปลูกอ้อย เมื่อเกษตรกรชาวไร่อ้อยได้ดำเนินการตัดอ้อยสดเพื่อส่งโรงงานในฤดูกาลหีบอ้อยแล้วข้างต้น ปรากฏว่ารัฐบาลก็มิได้ให้เงินช่วยเหลือในการตัดอ้อยสดของเกษตรกรชาวไร่อ้อยแต่อย่างใด เกษตรกรชาวไร่อ้อยจึงได้มาทวงถามไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมหลายครั้งบอกจะมีการดำเนินการที่จะช่วยเหลือเงินให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้ออย่างแน่น ปรากฏว่าเมื่อใดจะดำเนินการให้เงินช่วยเหลือดังกล่าวมาจนถึงปัจจุบันก็ยังมิได้รับ อีกทั้ง เกษตรกรชาวไร่อ้อยยังรับฟังจากการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งได้ตอบกระทู้สดในสภาผู้แทนราษฎรว่า
ขอเงินช่วยเหลือดังกล่าวให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยไปต่อคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2566 แต่ก็ยังมิได้รับการบรรจุเข้าไปในวาระการประชุมของคณะรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการอนุมัติเงินดังกล่าวแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ในฤดูกาลหีบอ้อยในปีพ.ศ.2567/2568 รัฐบาลก็ได้มึนโยบายที่จะลดปัญหาฝุ่น PM.2.5 อย่างเคร่งครัด โดยให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดส่งเข้าสู่โรงงานเพื่อลดการเผาอ้อย ซึ่งเกษตรกรชาวไร่อ้อยก็ตอบนโยบายของรัฐบาลเป็นอย่างดี แต่เกษตรกรชาวไร่อ้อยก็ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายค่าแรงที่สูงขึ้น ทำให้มีต้นทุนในการทำอ้อยส่งเข้าโรงงานสูงขึ้น จนเป็นปัญหาทำให้เกิดสภาวะขาดทุนในการทำอ้อย เนื่องจากราคาอ้อยก็ตกต่ำ โดยปัจปัจจุบันรัฐบาลก็ยังมิได้มีนโยบายที่จะช่วยเหลือการตัดอ้อยสดของเกษตรกรชาวไร่อ้อยแต่อย่างใด ทั้งที่เกษตรกรชาวไร่อ้อยได้ให้ความร่วมมือในการตัดอ้อยสดเพื่อสนองนโยบายรัฐบาลเป็นอย่างดี
ด้วยเหตุดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ในฐานะตัวแทนเกษตรกรชาวไร่อ้อยจึงใคร่ขอท่านผู้ว่าราชการหวัดอุดรธานี ในฐานะเป็นพ่อเมืองซึ่งดูแลทุกข์สุขของประชาชนชาวจังหวัดอุดรธานี ได้โปรดช่วยดำเนินตามทวงถามเงินช่วยเหลือการตัดอ้อยสดในดูกาลหีบอ้อย ปี พ.ศ.2566/2567 ดังกล่าวให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยด้วย และขอให้เร่งติดตามทวงถามถึงความชัดเจนในการที่รัฐบาลจะทำการช่วยเหลือเงินในฤดูกาลหีบอ้อย ปีพ.ศ.2567/2568 นี้ด้วย เนื่องจากเกษตรกรชาวไร่อ้อยต้องทนทุกข์สาหัสในการประสบปัญหาภาวะชาดทุนในการทำอ้อยมาอย่างต่อเนื่อง