พฤหัส. ธ.ค. 26th, 2024

วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม 2565 เวลา 10.00 น. ณ หอประชุมสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี นายไพบูลย์ ธิติศักดิ์ นายกสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยภาคตะะวันออกเฉียงเหนือ สมาชิกสมาคมฯ ชาวไร่อ้อยภาคอีสานตอนบน เดินทางมาร่วมงานกิจกรรมเป็นจำนวนมาก ภายในงานมีการออกบูธสินค้าทางการเกษตร วงดนตรี เล่นเกมส์ชิงของรางวัล จับฉลาก

โดยมี ดร.ธีระชัย แสนแก้ว ประธานชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565 ของสมาคมฯในวันนี้ ซึ่งท่านทั้งหลายเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายโดยตรง

” อ้อย ” เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญยิ่งของประเทศไทยที่มีจุดเด่นแตกต่างจากพืชชนิดอื่นมีกฎหมายดูแลเป็นการเฉพาะ คือพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 รวมทั้งมีองค์กรและสถาบันชาวไร่อ้อยที่เข้มแข็งกว่าพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น ผมจึงเห็นว่าข้อได้เปรียบเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่นำพาให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายพัฒนาได้อย่างดีตลอดไป

อย่างไรก็ตามในสถานการณ์ปัจจุบันที่เศรษฐกิจของโลกชะลอตัวการแข็งขันทางการค้าที่รุนแรง
มากขึ้น ภายใต้ระบบการค้าเสรีทำให้ทุกประเทศต้องปรับตัวให้อยู่รอดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่ต้องพึ่งพาตลาดส่งออก เช่น สินค้าน้ำตาลทราย ซึ่งประเทศไทยสามารถผลิตน้ำตาลส่งออกได้เป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจากประเทศบราชิล แต่ใช้บริโภคภายในประเทศเพียง 2.4 ล้านตัน ( 24 ล้านกระสอบ) ของน้ำตาลที่ผลิตได้ ที่เหลือเป็นสินค้าส่งออกทั้งหมด

ดังนั้นอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทยต้องปรับตัวให้เข้ากับประเทศผู้ผลิตน้ำตาลทรายรายอื่น ตามพันธะข้อตกลงขององค์กรการค้าโลก หรือ WT0 ที่เห็นได้ชัดคือการปล่อยลอยตัวราคาน้ำตาลภายในประเทศ

จึงทำให้รายได้จากการขายน้ำตาลของเราลตลง ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจำเป็นจะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตทุกขั้นตอน ตั้งแต่การปลูกอ้อย ซึ่งเป็นวัตถุดิบไปถึงการผลิตน้ำตาลทราย โดยการลดต้นทุนการผลิต ควบคู่ไปกับการผลิตที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้จะเกิดผลในทางปฏิบัติได้ก็ต่อเมื่อทุกฝ่ายและทุกท่านที่เกี่ยวข้องจะต้องให้ความร่วมมือร่วมใจกันเป็นอย่างดีก็จะสามารถฝ่าฟันอุปสรรคปัญหาต่างๆไปได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *